รถไฟฟ้าโมโนเรล สายจุฬาฯ–สยามสแควร์
รถไฟฟ้าโมโนเรล สายจุฬาฯ–สยามสแควร์

รถไฟฟ้าโมโนเรล สายจุฬาฯ–สยามสแควร์

โครงการรถไฟฟ้าโมโนเรล สายจุฬาฯ–สยามสแควร์ เป็นโครงการรถไฟฟ้าโมโนเรลระยะสั้น บนถนนพญาไท ผ่ากลางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินการโดยกรุงเทพมหานคร ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด โดยอยู่ภายใต้โครงการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ในการแก้ไขปัญหาจราจรด้วยระบบขนส่งมวลชน ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทั้งนี้ โครงการรถไฟฟ้าโมโนเรลสายดังกล่าว ยังมีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมต่อระบบหลักทั้งสองเส้นที่ปลายถนนพญาไททั้งสองด้าน และแก้ไขปัญหารถติดบริเวณถนนพญาไทฝั่งแยกปทุมวัน และแยกสามย่านที่ปัจจุบันรถวิ่งได้ด้วยความเร็วเฉลี่ยเพียง 6-8 กิโลเมตร/ชั่วโมงเท่านั้นในขณะนี้ได้พักการดำเนินโครงการไปด้วยเหตุที่ยังมีข้อขัดแย้งหลายประการจากนิสิตและบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าโครงการรถไฟฟ้าโมโนเรลนี้จะเป็นการบดบังทัศนียภาพโดยรวมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกทั้งขัดต่อมติคณะรัฐมนตรี ปี พ.ศ. 2538 ที่กำหนดให้ระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ ชั้นใน ต้องมุดลงใต้ดินเนื่องจากบดบังทัศนียภาพ(กรุงเทพมหานครจะจัดหาแหล่งเงินทุนเอง ซึ่งขณะนี้มีสถาบันการเงิน 3 แห่ง พร้อมให้การสนับสนุน ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย และธนาคารกรุงศรีอยุธยา อีกทั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังได้มอบพื้นที่ส่วนหนึ่งเพื่อทำการก่อสร้างโรงซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า และก่อสร้างศูนย์ราชการเอนกประสงค์ ซึ่งในอนาคตก็จะมีการย้ายสำนักงานเขตปทุมวันมาอยู่ ณ อาคารหลังใหม่นี้)[1][2]

รถไฟฟ้าโมโนเรล สายจุฬาฯ–สยามสแควร์

รูปแบบ รถไฟฟ้ายกระดับแบบรางเดี่ยว
จำนวนสถานี 11
เจ้าของ กรุงเทพมหานคร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระบบ รถไฟฟ้าโมโนเรล
สถานะ โครงการ (พักการดำเนินการ)
เปิดเมื่อ เลื่อนอย่างไม่มีกำหนด
เส้นทาง 3
ที่ตั้ง กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ระยะทาง 6.7 กิโลเมตร (not.)
ปลายทาง สถานีจัตุรัสจามจุรี
สถานีสยาม

ใกล้เคียง

รถไฟฟ้าโมโนเรล รถไฟฟ้าโมโนเรล สายบางปู-สุวรรณภูมิ รถไฟฟ้าโมโนเรล สายรามคำแหง–ทองหล่อ รถไฟฟ้าโมโนเรล สายจุฬาฯ–สยามสแควร์ รถไฟฟ้าโมโนเรล สายศาลาว่าการ กทม. 2–ถนนโยธี รถไฟฟ้าโมโนเรล สายสีชมพู รถไฟฟ้าโมโนเรล สายแกรนด์สแควร์ พระราม 9 รถไฟฟ้าโมโนเรล สายสีทอง รถไฟฟ้าโมโนเรล สายสีน้ำตาล